วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เจ็บแน่นอก ไม่ใช่อาการเตือน


         
           หัวใจของเราเป็นอวัยวะหนึ่งที่ทำงานหนักที่สุดตลอดชีวิต ดังนั้นหากหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจเหล่านี้เกิดการตีบ หรืออุดตัน หรือมีการหดตัวอย่างรุนแรงและเป็นเวลานาน ก็จะนำไปสู่โรคหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตายได้ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบริเวณนั้นเสียหาย จากการขาดออกซิเจนและสารอาหาร เมื่อนานเข้าก็เกิดความเสียหายที่ไม่สามารถคืนดีดังเดิมได้ กล้ามเนื้อหัวใจที่ตายจะหยุดทำงาน ผู้ป่วยอาจเกิดหัวใจวายและหากรุนแรงอาจเสียชีวิต

          ดังนั้น โรคหัวใจจึงเป็นโรคที่จำเป็นต้องรับการรักษาอย่างรวดเร็วและทันท่วงที เมื่อผู้ป่วยรู้สึกว่า มีอาการผิดปกติ เช่น เจ็บแปลบบริเวณหน้าอก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ปวดกรามหรือใจสั่น โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น เบาหวาน, ความดันเลือดสูง, ไขมันในเลือดสูง จึงควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อให้แพทย์สามารถรักษาโดยการเปิดหลอดเลือดหัวใจได้อย่างทันท่วงที เพื่อให้กล้ามเนื้อหัวใจเสียหายน้อยที่สุด เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
          ดังนั้น เมื่อผู้ป่วยเกิดอาการดังกล่าว จึงควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันความเสียหาของกล้ามเนื้อหัวใจให้ได้มากที่สุด

การรักษา
          ในปัจจุบัน การเปิดหลอดเลือดหัวใจทำได้หลายวิธี ขึ้นกับระยะเวลาที่เป็น, ความพร้อมของสถานบริการ และความรุนแรงของผู้ป่วย โดยวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ ได้แก่
          1. การให้ยาละลายลิ่มเลือด ซึ่งสามารถให้การรักษาได้ทุกแห่ง ถ้าไม่มีข้อห้ามใช้ยา โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยมาถึงแพทย์ ภายใน 2-3 ชั่วโมงหลังจากเกิดอาการ และยังให้ผลดีบ้าง ถ้าได้รับยาภายใน 6 ชั่วโมง ปัจจุบันเรามียาละลายลิ่มเลือดตัวใหม่ ชื่อ “ Tenecteplase” ซึ่งเป็นยาละลายลิ่มเลือดที่ออกฤทธิ์เร็ว มีประสิทธิภาพในการเปิดหลอดเลือดได้ดี เมื่อเทียบกับยากลุ่มเดิม สามารถลัดเข้าหลอดเลือดดำทันทีไม่ต้องเตรียม ไม่ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ทำให้ลดระยะเวลาที่เสียไประหว่างรอการรักษา
          2. การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน ร่วมกับการฝังขดลวดค้ำยัน ซึ่งเป็นการรักษาที่ดีและได้ผลรวดเร็ว ซึ่งอาจทำได้เลยตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงหรือมีข้อจำกัดไม่สามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดได้ หรือในกรณีที่ให้ยาละลายลิ่มเลือดแล้วผู้ป่วยยังมีอาการเจ็บหน้าอกอยู่ แต่มีข้อจำกัดที่สถานให้บริการจะต้องพร้อม ทั้งห้องตรวจสวนหัวใจ ทีมแพทย์พยาบาล ที่มีความชำนาญ
         
         

ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลพญาไท
ที่มาจาก http://guru.sanook.com/pedia/topic/เจ็บแน่นอก_ไม่ใช่แค่อาการเตือน/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น